เมนู

2. อารัมมณปัจจัย


[112] 1. ธรรมที่เป็นทั้งเหตุธรรมและสเหตุหกธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งเหตุธรรม และสเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของ
อารัมมณปัจจัย

คือ เพราะปรารภเหตุธรรม เหตุธรรมทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
2. ธรรมที่เป็นทั้งเหตุธรรมและสเหตุกธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นสเหตุกธรรมแต่ไม่ใช่เหตุธรรม ด้วยอำนาจของ
อารัมมณปัจจัย

คือ เพราะปรารภเหตุธรรม ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสเหตุกธรรมแต่ไม่
ใช่เหตุธรรม ย่อมเกิดขึ้น
3. ธรรมที่เป็นทั้งเหตุธรรมและสเหตุกธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งเหตุธรรมและสเหตุกธรรม และธรรมที่เป็น
สเหตุกธรรมแต่ไม่ใช่เหตุธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ เพราะปรารภเหตุธรรม เหตุธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
ย่อมเกิดขึ้น.
4. ธรรมที่เป็นสเหตุธรรมแต่ไม่ใช่เหตุธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นสเหตุกธรรมแต่ไม่ใช่เหตุธรรม ด้วยอำนาจของ
อารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ พิจารณา
กุศลกรรมนั้น.

บุคคลพิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน.
บุคคลออกจากฌานแล้ว พิจารณาฌาน.
พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรค, พิจารณาผล,
พิจารณากิเลสที่ละแล้ว, พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว, รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิด
ขึ้นแล้วในกาลก่อน.
พิจารณาขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสเหตุกธรรมแต่ไม่ใช่เหตุธรรม โดย
ความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นสเหตุกธรรมแต่
ไม่ใช่เหตุธรรม ด้วยเจโตปริยญาณ.
อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ, อากิญ-
จัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณ
ปัจจัย.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสเหตุกธรรมแต่ไม่ใช่เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่
อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริยญาณ แก่บุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปค-
ญาณ แก่อนาคตังสญาณ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
5. ธรรมที่เป็นสเหตุกธรรมแต่ไม่ใช่เหตุธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งเหตุธรรมและสเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของ
อารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน ฯลฯ มีอธิบายเหมือนข้อความตามบาลีตอนต้น
ไม่มีแตกต่างกัน.

6. ธรรมที่เป็นสเหตุกธรรมแต่ไม่ใช่เหตุธรรม เป็น
ปัจจัยและธรรมที่เป็นทั้งเหตุธรรมและสเหตุกธรรม และธรรมที่เป็น
สเหตุกธรรมแต่ไม่ใช่เหตุธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน ฯลฯ มีอธิบายเหมือนกับข้อความตามบาลีตอนต้น
ไม่มีแตกต่างกัน.
7. ธรรมที่เป็นทั้งเหตุธรรมและสเหตุกธรรม และ
ธรรมที่เป็นสเหตุกธรรมแต่ไม่ใช่เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็น
ทั้งเหตุธรรมและสเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ เพราะปรารภเหตุธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เหตุธรรม
ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
8. ธรรมที่เป็นทั้งเหตุธรรมและสเหตุกธรรม, ธรรม
ที่เป็นสเหตุกธรรม และธรรมที่เป็นสเหตุกธรรมแต่ไม่ใช่เหตุธรรม
เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นสเหตุกธรรมแต่ไม่ใช่เหตุธรรม ด้วยอำนาจ
ของอารัมมณปัจจัย

คือ เพราะปรารภเหตุธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ขันธ์ทั้งหลาย
ที่เป็นสเหตุกธรรมแต่ไม่ใช่เหตุธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
9. ธรรมที่เป็นทั้งเหตุธรรมและสเหตุกธรรม และ
ธรรมที่เป็นสเหตุกธรรมแต่ไม่ใช่เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็น
ทั้งเหตุธรรมและสเหตุกธรรม และธรรมที่เป็นสเหตุกธรรมแต่ไม่ใช่
เหตุธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ เพราะปรารภเหตุธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เหตุธรรม
และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.

3. อธิปติปัจจัย


[113] 1. ธรรมที่เป็นทั้งเหตุธรรมและสเหตุกธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งเหตุธรรม และสเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของ
อธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
เพราะกระทำเหตุธรรมทั้งหลายให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เหตุ-
ธรรมทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นทั้งเหตุธรรมและสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัม-
ปยุตตเหตุทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
2. ธรรมที่เป็นทั้งเหตุธรรมและสเหตุกธรรม เป็น
ปัจจัยและธรรมที่เป็นสเหตุกธรรมแต่ไม่ใช่เหตุธรรม ด้วยอำนาจของ
อธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่